โรคกระดูกเสื่อม

จากเมล็ดงา สู่งานวิจัยทรงคุณค่า

"สารสกัดเซซามิน"

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ดีของมนุษยชาติ

โรคทุกโรคเกิดจากการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักทั้งสิ้น คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยนึกถึงเรื่องการป้องกันเราไม่ดูแลสุขภาพกันเลย

ในแต่ละวันเราไม่เคยสนใจว่ากินอาหารครบ 5 หมู่หรือไม่ คนส่วนใหญ่จะหาเงินเพื่อซื้อของนอกกายแต่

เมื่อร่างกายป่วยแล้วค่อยไปโรงพยาบาลให้หมอรักษา เราต้องเปลี่ยนทัศนคติตรงนี้ใหม่


ต้องบอกว่าเราต้องรีบดูแลสุขภาพตั้งแต่วันนี้ก่อนจะสายไป คุณทำงานจนอายุ50-60 ปีมีบ้านมีรถ


มีสิ่งที่ต้องการแต่พอคุณจะไปเที่ยวก็ไปไม่ไหวเสียแล้ว แต่ถ้าบางคนดูแลสุขภาพตัวเองตลอด


แม้เขามีเงินเพียง 1 ล้านเขาก็ใช้เงินคุ้มกว่าคุณที่มี 100 ล้าน ดูแลสุขภาพตั้งแต่ตอนนี้กันดีกว่า

สอบถามข้อมูล
ปรัชญา คงทวีเลิศ

โรคข้อเสื่อมจัดเป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากความเสื่อมของร่างกายทำให้เกิดความไม่สมดุลในการสร้าง การทำลายและการซ่อมแซมภายในข้อ เกิดการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้ออย่างช้าๆทำให้ผิวกระดูกอ่อนสึกกร่อน กระดูกใต้กระดูกอ่อนหนาตัวเกิดกระดูกงอกทั้งตรงกลางและริมกระดูก


และเยื่อบุผิวข้อสร้างน้ำไขข้อลดลงผลจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ข้อฝืด ใช้งานข้อไม่คล่อง มีเสียงดังในข้อปวดหรือเสียวในข้อโดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหวหรือใช้งานข้อมากกว่าปกติโรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้อที่พบบ่อยที่สุดโดยเฉพาะผู้หญิงตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุตั้งแต่ 80 ปีเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความพิการทั้งทางตรงและทางอ้อมจึงเป็นโรคที่สำคัญทางสาธารณสุขมากที่สุดโรคหนึ่ง

ปัจจัยเสี่ยงข้อเสื่อม

ข้อเสื่อม

1. ปัจจัยทั่วไป (constitutional factors) เช่น พันธุกรรม เพศ อายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัว


เพศ เพศหญิงมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือช่วงวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (estrogen) ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนที่มีตัวจับกับฮอร์โมนเพศหญิงทำงานน้อยลงทำให้การสร้างโปรติโอไกลแคน (proteoglycan) ที่ใช้ซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนลดลงอย่างไรก็ตามพบว่าหญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับยาฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนจะช่วยลดโอกาสเกิดข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อมได้3


อายุ โดยพบว่ามากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปีจะเป็นโรคข้อเสื่อมถ้านำผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าวมาถ่ายภาพเอกซเรย์ก็จะพบข้อเสื่อมทุกรายแต่จะมีอาการหรือไม่นั้นก็ขึ้นกับปัจจัยอื่นอีก จากการศึกษาพบว่าเมื่ออายุมากขึ้นการตอบสนองต่อสารกระตุ้นการเจริญเติบโต (growth factor) จะลดลง การสังเคราะห์โปรติโอไกลแคนไม่สมบูรณ์ร่างกายมีโปรตีนเชื่อมต่อน้อยลงนอกจากนี้อายุที่มากขึ้นยังทำให้เซลล์กระดูกหมดอายุขัยเร็วขึ้นด้วย รวมถึงการสร้างและการซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อน (chondrocyte) ลดลง


ความอ้วน บุคคลที่มีน้ำหนักมากหรือมีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) สูงกว่าปกติจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นเนื่องจากข้อเข่าเป็นจุดรับน้ำหนักของร่างกายเมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้นแรงที่กดลงบนผิวข้อก็จะเพิ่มขึ้นและเนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่ใช้ในการทรงตัวมากที่สุดดังนั้นเมื่อใช้งานข้อเข่าอย่างหนักเช่นขึ้นลงบันไดมาก แบกของหนักจะยิ่งเพิ่มแรงกดลงที่ข้อเข่า และน้ำหนักที่มากเกินไปยังมีผลต่อท่าทางการเดินทำให้เข่าโก่งออกทำให้เวลาเดินจะเจ็บข้อและเกิดการอักเสบ


2. ปัจจัยเฉพาะที่ (local adverse mechanical factors) เช่น ตำแหน่งของข้อ การบาดเจ็บที่ข้อ


ตำแหน่งของข้อแต่ละข้อ มีผลมากเนื่องจากเป็นบริเวณที่ต้องรับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อ

สะโพกและแต่ละข้อมีเอนไซม์และการตอบสนองต่อการอักเสบต่างกัน สารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่สำคัญก็คือสารไซโตไคน์ (cytokine) โดยจะพบว่าที่เซลล์กระดูกอ่อนข้อเข่ามีตัวรับไซโตไคน์ ชนิดอินเตอร์ลิวคิน 1 (interleukine 1, IL- 1) และเอนไซม์ MMP-8 มากกว่าที่ข้อเท้าดังนั้นข้อเข่าจึงมีโอกาสเสื่อมมากกว่าที่ข้อเท้า


การบาดเจ็บ คือจุดเริ่มต้นของข้อเสื่อมโดยอาจเริ่มจากบาดเจ็บเล็กน้อยและซ้ำๆซึ่งใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าจะกลายเป็นข้อเสื่อมการบาดเจ็บจึง ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงภายในข้อลดลง ทำให้สารอาหารถูกดูดซึมเข้ามาใช้ซ่อมแซมได้น้อยลง


และอาจเกิดรอยร้าวเล็กๆ (microfracture) ที่บริเวณรอยต่อระหว่างกระดูกกับกระดูกอ่อนและมีหินปูนมาจับบริเวณรอยต่อดังกล่าว (subchondral bone sclerosis หรือ spur หรือ osteophyte)


นอกจากนี้อาจพบโพรงน้ำภายในกระดูกที่อยู่ภายใต้กระดูกอ่อน (subchondral bone cyst) สิ่งเหล่านี้จะทำให้ความยืดหยุ่นของข้อลดลง รับแรงกระแทกได้น้อยลงเมื่อเป็นเรื้อรังก็จะทำให้โครงสร้างของข้อผิดรูปไปจากปกติ

และทำให้มีอาการปวดรวมถึงมีปัญหาในการใช้งานข้อนั้นๆด้วย



สอบถามข้อมูล

ค้นพบทางเลือกใหม่ เซซามินดูแลกระดูกอ่อน

กระดูกก็เหมือนเสาเข็ม ตอกไม่ลึกตึกก็ถล่ม

ที่จริงแล้วการอักเสบเป็นกลไกที่จำเป็นในร่างกายเรา แต่ต้องมีอยู่ในระดับที่พอเหมาะที่ร่างกาย

สามารถควบคุมการอักเสบนั้นได้


เซซามิน(Sesamin)จะทำหน้าที่ควบคุมการอักเสบได้อย่างดี ด้วยการไปยับยั้ยสารบางอย่างในเซลล์ซึ่ง

ร่างกายผลิตขึ้นมาเองเพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอม แต่บังเอิญมันมีมากเกินไปจึงทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในเซลล์


ข้อเสื่อม

เซซามินยับยั้งการปวดอักเสบและเสริมสร้างมวลกระดูก

ที่ศูนย์วิจัยที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิสวกรรมเนื้อเยื่อและเซลล์ต้นกำเนิด

คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องผลของ


เซซามิน(SESAMIN) ต่อการยับยั้งการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนที่ถูกกระตุ้นด้วยสารสื่ออักเสบ interluekin-1 beta โดยทำการศึกษาทั้งในชิ้นกระดูกอ่อน (cartilage explant model) ในเซลล์กระดูกอ่อนของคน(human chondrocyte)และในสัตว์ทดลอง


สอบถามข้อมูล

จากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์วิศวกรรมเนื้อเยื่อและเซลล์ต้นกำเนิด

พบว่าสารสกัดงาดำที่ชื่อ เซซามิน(SESAMIN)


สามารรถลดการพัฒนาของเซลล์สลายกระดูกให้ทำงานน้อยลง

และไปส่งเสริมให้เซลล์สร้างกระดูกทำงานได้ดีขึ้น


โรคกระดูกพรุนพบมากในหญิงวัยหมดประจำเดือน


สาเหตุ...เกิดจากการทำงานของเซลล์กระดูกที่ผิดปกติ

โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูก(Osteoblast) ทำหน้าที่ลดลง

ขณะที่เซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูก(Osteoclast)ทำงานมากขึ้น


ผลวิจัยพบว่า สารสกัดเซซามินSESAMIN เพิ่มความสามารถของเซลล์ Osteoblast


ในการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกได้อย่างชัดเจน และได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารนานาชาติเรียบร้อยแล้ว



หลังจากที่ประสบความสำเร็จในงานวิจัย สารสกัดงาดำเซซามิน(SESAMIN)

เป็นข่าวโด่งดังรักษากระดูกพรุน ข้อเสื่อมได้

จึงจดสิทธิบัตรเป็นจ้าวแรก เราเป็นงานวิจัยต้นน้ำตัวจริง และ เป็นข่าวโด่งดังทั่วโลก

สิทธิบัตรโลก
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy